ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids)

ริดสีดวงทวาร (hemorrhoids หรือ piles) เป็นการอักเสบและ บวมของหลอดเลือดดําที่บริเวณปลายลําไส้ใหญ่และทวารหนัก ซึ่ง ปกติหลอดเลือดจะล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งถ้าเนื้อเยื่อ เกี่ยวพันนี้หย่อนคล้อย จะทําให้หลอดเลือดโป่งได้ ผู้ป่วยบางราย อาจเห็นเป็นติ่งยื่นออกมาทางทวารหนัก

ริดสีดวงทวาร แบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่

ริดสีดวงชนิดภายใน จะมีรอยโรคอยู่เหนือ dentate line (ลึกเข้าไปในรูทวาร) ซึ่งอยู่ระหว่าง columnar และ squamous epithelium จะมีอาการปวดน้อยกว่า เนื่องจากเป็นการกระตุ้นที่อวัยวะภายใน (viscerally innervations)

ริดสีดวงชนิดภายนอก จะมีรอยโรคต่ํากว่า dentate Line ลงมา อาการปวดจะมากกว่าเนื่องจากเป็นการ กระตุ้นที่อวัยวะภายนอก (somatic innervations) คือผิวหนัง

ปัจจัยกระตุ้นริดสีดวงทวารมีดังต่อไปนี้

  • การเบ่งถ่าย
  • การนั่งเป็นเวลานาน
  • อาการท้องเสียหรือท้องผูกเรื้อรัง
  • ความอ้วน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
  • ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคริดสีดวงมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันโดยรอบหลอดเลือดจะมีความหย่อนคล้อยตามอายุ

อาการริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงชนิดภายใน จะมีเลือดสดปนออกมากับอุจจาระ ไม่ค่อยมี อาการเจ็บ แต่มีการโป่งของหลอดเลือด ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะ 1 ไม่มีติ่งยื่นออกมา
  • ระยะ 2 มีติ่งยื่นออกมาขณะถ่ายอุจจาระ แต่สามารถ กลับเข้าไปได้เอง
  • ระยะ 3 มีติ่งยื่นออกมาขณะถ่ายอุจจาระ ต้องใช้นิ้วดัน กลับเข้าไป
  • ระยะ 4 มีติ่งยื่นออกมาโดยที่ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้

ริดสีดวงชนิดภายนอก จะพบก้อนเลือดคั่งบริเวณทวารหนัก มี อาการปวด และบวม

ริดสีดวงภายในและภายนอกเกิดร่วมกันได้บ่อยครั้ง ริดสีดวงทั้งสองชนิดอาจทําให้ผู้ป่วยมีอาการคัน หรือมีการติดเชื้อแทรกซ้อนเป็นหนองได้ เนื่องจากมีความยากลําบากในการรักษา ความสะอาดบริเวณทวารหนัก

การรักษาริดสีดวงทวาร

รักษาริดสีดวงตามระดับความรุนแรงดังนี้

การรักษาด้วยยา อาจพิจารณาสําหรับ ระยะ 1-3

  1. .มีทั้งแบบเหน็บและ แบบทา (Daflon®, Dafomin®) ใช้ยาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในช่วงที่มีการอักเสบ ให้ยาวันละ 6 เม็ด เป็นเวลา 4 วัน หลังจากนั้น 4 เม็ด เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นให้ยา วันละ 2 เม็ด ตอนท้องว่างหรือหลังอาหารก็ได้จนกว่าริดสีดวงจะยุบ
  2. ยากินเพชรสังฆาต 250 mg ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง
  3. การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งมีหลายวิธี พิจารณาสําหรับ ระยะ 2 ขึ้นไป
  4. ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็น ริดสีดวง หรือพฤติกรรมที่ทําให้อาการของริดสีดวงแย่ลง โดยควร รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ดื่มน้ำสะอาดปริมาณมาก เพื่อ ป้องกันไม่ให้ท้องผูกและอุจจาระเป็นก้อนแข็ง

ภาวะแทรกซ้อนของริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้มากผิดปกติ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง หรือเลือดออกจนความดันโลหิตต่ำ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หรือในบางกรณีก้อนยื่นออกมาพ้นรูทวารและถูกหูรูดทวารรัดตัวแน่น ไม่สามารถหดกลับได้ ส่งผลให้บวม จนกระทั่งเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆเกิดภาวะขาดเลือด ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ มีฝีหนองตามาได้

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงทวาร

ตรวจร่างกาย ด้วยเครื่องมือในการตรวจริดสีดวงทวาร (กล้องส่องภายในรูทวาร) ร่วมกับการตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแยกโรคอื่นๆ

วิธีดูแลริดสีดวงด้วยตนเอง

ต้มน้ำให้อุ่นจัดๆ ใส่ลงในกะละมังขนาดเล็กพอหย่อนก้นได้ ผสมต่างทับทิมลงในนํ้าอุ่นให้เป็นสีชมพูจางๆ นั่งในนํ้าอุ่นเป็นเวลา 15-30 นาที ควรทําวันละ 2-3 ครั้งหรือหลังขับถ่ายอุจจาระ

อาการอักเสบดีขึ้นได้ใน 7-10 วันโดยประมาณ ระวังอย่าให้ท้องผูกควรดื่มนํามาก ๆ และกินผักผลไม้ ถ้ามีเลือดออกนานกว่า 1 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์ แม้ว่าอาการอักเสบจะหายไป แต่ริดสีดวงจะคงอยู่เหมือนเดิมดังนั้น ควรพบแพทย์เพื่อแนะนําวิธีการรักษาตามระยะของโรค

วิธีเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวง

โดยขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวงจะมีดังนี้

  1. ต้องทำความสะอาดโดยการโกนขนบริเวณหน้าท้องส่วนล่างบริเวณหัวหน่าวและรอบรูทวารหนักและสวนล้างลำไส้เพื่อความสะอาดในคืนก่อนวันผ่าตัด
  2.  ควรอาบน้ำ สระผม ตัดเล็บให้สั้นในคืนก่อนวันผ่าตัด
  3. ต้องงดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืนในคืนก่อนวันผ่าตัด
  4. นอนพักผ่อนให้เต็มก่อนวันผ่าตัด บางคนกังวลมากๆ อาจได้รับยาเพื่อช่วยคลายความวิตกกังวล เพื่อให้ได้การพักผ่อนที่เพียงพอ