โรคเริม คืออะไร ใช่โรคติดต่อหรือไม่
โรคเริม ถือเป็นโรคติดต่อ และเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง สามารถแพร่ให้กันได้ โดย สามารถพบได้แทบจะทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น วัยชรา โดยจากการวิจัยผลปรากฎว่า ประชาชน ร้อยละ 70-80 เคยได้รับเชื้อไวรัสเริม แต่ไม่แสดงอาการออกมา โดยเริมถือเป็นโรคติดต่อรูปแบบหนึ่ง แม้ว่าจะติดต่อกันได้ไม่ง่ายนัก
แต่หากไม่ระวังก็สามารถติดต่อกันได้อยู่ดี โดยผู้ป่วยส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการของโรคออกมาอย่างชัดเจน จึงทำให้มีการติดไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัวได้ โดยในวันนี้พวกเราทีมงาน บ้าน HG ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับเริมมาให้ท่านผู้อ่านได้ทำความรู้จัก
โรคเริม คืออะไร ?
โรคเริม คือโรคติดต่อทางผิวหนัง ที่เกิดจาก เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus) หรือ (HSV) โดยโรคชนิดนี้ เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยากมากๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการเรื้อรัง พอทำการ รักษาเริม
อาการก็จะมีการทุเลาจนดูเหมือนหายไป แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ ก็จะมีอาการของโรคกลับมาเป็นอีก โดย ผู้ป่วนส่วนมาก ที่ได้รับไป จะไม่มีการแสดงอาการออกมา โดยที่ โรคนี้ มักจะพบมากใน วัยหนุ่มสาว และ วัยผู้ใหญ่ โดยจุดที่พบบ่อย จะมีอยู่ 2 จุดด้วยกัน คือ เริมที่ปาก และ เริมที่อวัยวะเพศ
เริมที่ปาก
เริมที่ปาก เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเริม Herpes Simplex Type 1 (HSV-1) โดยจะพบบริเวณ รอบปาก และ ผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อย ในทุกเพศทุกวัย และยังเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้อีกด้วย
โดยติดต่อได้ผ่านการสัมผัส เช่น การจูบ การใช้หลอดหรือช้อนซ้อมร่วมกัน หรือแม้แต่การทำออรัลเซ็กส์ จะมีอาการ คันยุบยิบที่ปาก รู้สึกแสบร้อน มีตุ่มใสพองๆ ลักษณะเป็นเม็ดๆเป็นกลุ่มๆ ปากบวมแดง อาจมีอาการไข้ร่วมด้วย
เริมที่อวัยวะเพศ
เริมที่อวัยวะเพศ เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเริม Herpes Simplex Type 2 (HSV-2) อาการของโรคอาจมีตุ่มพองเกิดขึ้น ทำให้มีความรู้สึกแสบเมื่อมีการเสียดสี โดยแผลเหล่านี้จะตกสะเก็ดและหายไปในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในเพศชายจะพบตุ่มบริเวณอวัยวะเพศถุงอัณฑะ หรือบริเวณทวารหนัก
ส่วนในเพศหญิงจะมีอาการของโรคที่บริเวณช่องคลอด สะโพก และ ทวารหนัก และ เจ็บและแสบ ขณะปัสสาวะ โดยอาการที่พบได้ทั้งหญิงและชาย คือ สามารถพบรอยแตก ที่ไม่ก่อให้เกอิดอาการเจ็บที่อวัยวะเพศ คันและชา บริเวณอวัยวะเพศ อาจมีอาการไข้ปวดหัวตัวร้อนร่วมด้วย
ยารักษาเริม
การรักษาเริม ทำได้โดยใช้ ยาต้านไวรัส ซึ่งมีทั้งแบบกิน และ แบบทา รวมไปถึง ยาแก้ปวดที่ช่วยให้อาการของโรคทุเลาลง
ยาสำหรับต้านเชื้อไวรัส
มีทั้งแบบ รับประทาน และ แบบใช้ทาที่ตัวที่เกิดอาการ โดยตัวยามีสรรพคุณในการช่วยต้านเชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิด โรคเริม ทำให้อาการทุเลาลง และ ยังช่วยให้แผลแห้ง และ หายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดย แพทย์มีหน้าที่สั่งยา ใช้ยาจำพวก Abreva (docosanol) ,Valtrex (valacyclovir) , Zovirax (acyclovir) , Famvir (famciclovir)
ยาแก้ปวด
ยาแก้ปวดที่ใช้ทาน กับ ยาทาชนิดขี้ผึ้ง ยาช่วยบรรเทาอาการปวดและแสบร้อนที่เกิดจากเริม ซึ่งยาแก้ปวดเหล่านี้ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หากให้ดีให้เลือกร้านที่จ่ายยาโดยเภสัช เพราะจะมีการสอบถามอาการ และ การแพ้ยาของผู้ป่วยด้วย ใช้ยาจำพวก Aspirin , Tylenol (acetaminophen) , Motrin (ibuprofen) , Advil ในส่วนของยาทาใช้ยา Benzoyl alcohol , Benzocaine , Lidocaine ,Dibucaine
สาเหตุของ โรคเริม
ผู้ป่วยจะสามารถติด โรคเริม จะต้องมีการได้รับเชื้อไวรัส (Herpes simplex virus) หรือ (HSV) เข้ามาในร่างกายก่อน โดยจะมีการแสดงอาการออกมาในทันทีไหม นั้นแล้ว แต่ ความแข็งแรง และ สภาพร่างกายในขณะนั้น โดยส่วนมากอาการของโรคมักไม่แสดง แต่จะไปแสดงอาการได้ตลอดเวลา ที่ร่างกายมีการอ่อนแอ หรือ มีการป่วยอื่นๆ
สาเหตุ ที่กระตุ้นให้เริมแสดงอาการ
- มีความเครียด เครียดเรื่องงาน เรื่องคู่รัก เรื่องอื่นๆ
- ภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ ทำให้อาการเริมแสดงออกมา
- นอนน้อย หรือ พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น หรือ เป็นไข้
- ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง
- ใช้ร่างกายหนัก มีความอ่อนเพลียสะสม
- ได้รับยากระตุ้นต่างๆ เช่น สเตียรอยด์
- ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ภูมิตก
จะเห็นได้ว่า เริมพอเข้ามานั้นจะไม่มีการแสดงในทันที หากร่างกายของผู้ได้รับเชื้อแข็งแรง และจะรอวันที่จะแสดงอาการในวันที่ร่างกายอ่อนแอ พะกผ่อนไม่เพียงพอ หรือ มีความเครียดนั้นเอง
การป้องกัน โรคเริม
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาเริมให้หายขาดได้ แต่มีวิธีที่ให้ให้อาการของโรคเริมไม่แสดงอาการออกมาเลย ผู้ป่วยบางคนมีเชื้อเริมอยู่กับตัว แต่ไม่เคยแสดงอาการมาก่อนเลยแม้สักครั้งเดียวก็สามารถพบเจอได้ โดยมีวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันดังนี้
- ไม่รับประทานอาหารร่วมกันโดยไม่ใช้ช้อนกลาง
- หลีกเลี่ยงการใช้หลอด หรือ ของใช้ที่ต้องมีการสัมผัสร่วมกัน
- ร่วมรักโดยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
- หากพบเจอคู่นอน ที่มีตุ่มใส ขึ้น ตามอวัยวะเพศ หรือ ปาก ไม่ควรร่วมรักด้วย เด็ดขาด
- หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกัน กับผู้ ที่เป็นเริม เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ลิปสติก หรืออื่นๆ
บทสรุป
เริมเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส โดยมีวิธีที่สามารถหลีกเลี่ยง หรือ ป้องกันการเกิดซ้ำได้ หากมีวิธีป้องกันที่ดีพอ แต่หากได้รับเชื้อมาแล้ว ตรวจพบไว และ ทำการรักษาไว ก็จะดีต่อผู้ป่วย และ คนอื่นๆ ที่มาสัมผัสกับผู้ป่วย โดยการไม่รับเชื้อเข้ามาเลยจะดีที่สุด เพราะการรักษาเริม ทำให้เสียเวลา และ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ
เนื่องจากหากเป็นบริเวณปากจะทำให้ผู้อื่นสังเกตเห็นได้ ทางที่ดี ควรระวังตัว ไม่ควรสัมผัส ของใช้ หรือ มีเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่เป็นเริมจะดีที่สุด หากอยากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อพวกเรา บ้าน HG ได้ ผ่านทาง LINE